ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และการวิจัยระดับแนวหน้าทางด้านวิศวกรรมโลหการ
และวัสดุ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมทางด้านการผลิต, พลังงาน, ยานยนต์
ปิโตเลียม, อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุทางการแพทย์

การผลิตเหล็ก

ควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์

วิศวกรการกัดกร่อน

ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิศวกรรมโลหการและวัสดุ (metallurgical and material engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของวัสดุและกระบวนการทางโลหวิทยา ตั้งแต่การศึกษาโลหะในสภาวะสินแร่ กระบวนการคัดแยกโลหะ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพโลหะและพัฒนาวัสดุใหม่ๆที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ การนำโลหะมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น การหล่อขึ้นรูป การทุบขึ้นรูป การรีดขึ้นรูป เป็นต้น ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพอื่นๆ ต่อเนื่องจากการขึ้นรูป ได้แก่ การปรับปรุงด้วยกระบวนการทางความร้อน และกระบวนการวิศวกรรมพื้นผิว นอกจากนั้นยังรวมถึงการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัสดุและการวิเคราะห์ความเสียหายอีกด้วย โดยความรู้ทางด้านโลหการและวัสดุ เป็นพื้นฐานสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเลียม อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน ก่อสร้าง เครื่องประดับ และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อากาศยาน

การเรียนการสอน และการวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสากล QS ในสาขาวัสดุศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 101-150 ของโลกซึ่งเป็นผลจากการ ที่ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนที่เน้นทั้งด้าน ทฤษฎี และปฏิบัติ มีการเน้นการทําวิจัยที่สามารถพัฒนาต่อเป็นองค์ความรู้ใหม่

บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้

ภาควิชาส่งเสริมให้นิสัตได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการคิดและการทำวิจัยบรรยากาศการเรียนรู้เป็นกันเอง ภาควิชา และคณะมีห้องสัมนากลุ่มย่อยเพื่อการประชุม การทำงานกลุ่ม หรือการศึกษากับเพื่อนนอกชั้นเรียนได้ มีบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งมีทุนการศึกษาให้กับทุกระดับการศึกษา และโครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำด้านองค์ความรู้และการวิจัยด้านวิศวกรรมโลหการและวัสดุ แก้ปัญหาอุตสาหกรรม สร้างนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. พัฒนาหลักสูตรและบัณฑิตที่เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโลหการและวัสดุ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมและสังคมไทย
2. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาอุตสาหกรรมและสังคมพร้อมประยุกต์ใช้ได้จริง
3. สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการพัฒนาที่ยั่งยืน