
เส้นทางอาชีพ
วิศวกรโลหการและวัสดุนั้น มีความจําเป็นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น โรงงานผลิตโลหะ งานแปรรูปโลหะ งานหล่อและขึ้นรูปชิ้นส่วนทางวิศวกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่ง ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในประเทศไทยกําลังเติบโตอย่างมาก จึงมีความต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะ ด้านโลหการและวัสดุ เพื่อผลิตและควบคุมคุณภาพ (Process Engineer) ของชิ้นส่วนโลหะที่ผลิต ในอุตสากรรมการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็ต้องการวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโลหการและวัสดุเช่นเดียวกัน วิศวกรโลหการและวัสดุยังมีความจําเป็นในงานทางด้านการควบคุมคุณภาพ (QA / QC Engineer) การตรวจสอบและ บํารุงรักษาชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่าง ๆ รวมทั้งงานวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure Analysis) ของชิ้นส่วนต่างๆ ระหว่างใช้งาน
นอกจากนั้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีความต้องการวิศวกรโลหการสําหรับงานทางด้าน in-service inspection, corrosion engineer และ welding engineer อีกด้วย ในด้านงานวิจัยปัจจุบันมีหน่วยงานและบริษัทต่างๆที่ต้องการบุคลากรด้านโลหะและวัสดุเพื่อคิดค้นและวิจัยด้านวัสดุ เช่น การไฟฟ้า การบินไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นต้น



งานด้านโลหะและวัสดุนั้นยังมีความต้องการอยู่มากทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องด้วยอุตสาหกรรมที่สําคัญต่าง ๆ ในประเทศ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอัญมณี กําลังมีการขยายตัว ทําให้มีความต้องการวิศวกรโลหการและ วัสดุ ในขณะที่บัณฑิตที่จบการศึกษาโดยตรงในด้านนี้ยังมีจํานวนจํากัด จึงทําให้ในอุตสาหกรรมยังขาดแคลนวิศวกรที่มี ความชํานาญเฉพาะทางด้านโลหการและวัสดุ ดังจะเห็นได้จากทุก ๆ ปีจะมีบริษัทต่างๆมาเปิดรับสมัครนิสิตที่กําลังจะ จบการศึกษาจากภาควิชาเข้าทํางาน